Mechanical Interlock คืออะไร สำคัญกับอุตสาหกรรมการผลิตอย่างไร
Mechanical Interlock หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญของระบบไฟฟ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไฟฟ้าในอุตสาหกรรมการผลิต เนื่องจาก
อุตสาหกรรมการผลิตเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพสูง
ความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมาก แม็คชีนนิเคิล อินเตอร์ล็อค จึงเป็นอุปกรณ์ที่ถูกคิดค้น
ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงานผิดพลาดของระบบไฟฟ้า บทความนี้จะพาคุณไปทำ
ความรู้จักกับแม็คชีนนิเคิล อินเตอร์ล็อคอุปกรณ์นี้คืออะไร มีประโยชน์ และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ไปดูกันเลย
Mechanical interlocking คืออะไร
ที่จริงแล้ว Mechanical Interlock (แม็คชีนนิเคิล อินเตอร์ล็อค) เป็นอุปกรณ์เสริมของ Magnetic Contactors (แมกเนติกคอนแทคเตอร์)
อุปกรณ์สวิตช์ที่ใช้ในการตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อให้หน้าสัมผัสหรือ Contactor เปิด-ปิดได้ ทำให้สามารถ
ควบคุมวงจรมอเตอร์ของเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งอุปกรณ์เสริมแม็คชีนนิเคิล
อินเตอร์ล็อคนี้ มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้แมกเนติก 2 ตัวทำงานพร้อมกัน โดยเป็นตัวกำหนดกลไกการทำงาน
เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขหรือลำดับที่กำหนดไว้ เรียกได้ว่าแม็คชีนนิเคิล อินเตอร์ล็อคเป็นตัวช่วยควบคุม
กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตนั่นเอง
นอกจากนี้ แม็คชีนนิเคิล อินเตอร์ล็อคยังเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ต่อโรงงานอุตสาหกรรมในด้านอื่นๆ
อีกหลายประการ ประกอบไปด้วย
ด้านความปลอดภัย: ส่วนช่วยเรื่องความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอุปกรณ์นี้
จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในกระบวนการผลิต ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น
ป้องกันไม่ให้เครื่องจักรทำงานผิดพลาด
ด้านการป้องกันความเสียหายของเครื่องจักร: ในอุตสาหกรรมการผลิต อาจมีบางครั้งที่เครื่องจักร
อาจทำงานผิดพลาดได้ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของไฟฟ้าหรือขั้นตอนอื่นๆ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้
จะส่งผลให้เครื่องจักรเสียหายได้ เนื่องจาก แม็คชีนนิเคิล อินเตอร์ล็อค จะทำหน้าที่ป้องกันการทำงานผิดพลาด
ของเครื่องจักร ทำให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานนานขึ้น
ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร: เนื่องจากในกระบวนการผลิต จะมีการทำงานของเครื่องจักร
ที่เกี่ยวข้องที่ซับซ้อน อินเตอร์ล็อกจึงเข้ามาช่วยให้กระบวนการเหล่านี้ทำงานได้อย่างเป็นลำดับและราบรื่น
ส่งผลให้กระบวนการผลิตทำงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการหยุดชะงักให้เหลือน้อยที่สุด
ทำให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น
ด้านมาตรฐานความปลอดภัย: แน่นอนว่าทุกโรงงานต้องดำเนินงานภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด
ซึ่งแม็คชีนนิเคิล อินเตอร์ล็อคจะช่วยให้บริษัทหรือโรงงานต่างๆ ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย
เหล่านี้ได้ ส่งผลให้พนักงานทำงานได้อย่างปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมาย
ด้านการจัดการความเสี่ยง: ในกระบวนการผลิตของโรงงาน มักจะมีความเสี่ยงมากมายที่อาจเกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น ระบบไฟฟ้าขัดข้องหรือการทำงานผิดพลาดของพนักงาน อย่างที่ได้กล่าวไป แม็คชีนนิเคิล
อินเตอร์ล็อคจะเข้ามาช่วยจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ ทำให้กระบวนการผลิตทำงานต่อไปได้อย่างราบรื่น
ความสำคัญของ แมกเนติกคอนแทคเตอร์
เนื่องจากอุปกรณ์ Mechanical Interlockเป็นอุปกรณ์เสริมที่มักนำมาใช้งานรวมกับอุปกรณ์อื่นๆ ใน Magnetic Contactor ต่อไป เราจะพาคุณไปทำความรู้จัก
กับ Magnetic Contactor กันให้มากขึ้น Magnetic Contactor คืออุปกรณ์สวิตช์ที่ทำหน้าที่ตัด และต่อวงจรไฟฟ้าของ
เครื่องจักร ทำให้สามารถควบคุมวงจรมอเตอร์ของเครื่องจักรต่างๆ ภายในกระบวนการผลิตของโรงงานได้
ซึ่งแมกเนติกคอนแทคเตอร์นั้น มีส่วนประกอบที่สำคัญต่อการทำงาน ได้แก่ แกนเหล็ก (Core), ขดลวด (Coil),
หน้าสัมผัส (Contact) และสปริง (Spring) นั่นเอง
มากไปกว่านั้น Magnetic Contactor มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของเครื่องจักรภายในอุตสาหกรรมการผลิต
เนื่องจาก Magnetic Contactor นี้จะช่วยเรื่องความปลอดภัยขณะปฏิบัติงานของผู้ควบคุมมอเตอร์ เนื่องจาก
ในกระบวนการผลิตที่ใช้มอเตอร์ขนาดใหญ่ จะมีกระแสไฟฟ้าจำนวนมากที่ไหลผ่านบริเวณหน้าสัมผัส Magnetic Contactor
นี้จะช่วยให้ผู้ควบคุมจะสามารถควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้าขนาดต่ำ ที่ไปควบคุมขดลวดของ
แมกเนติกคอนแทคเตอร์ได้ ทำให้มีความปลอดภัยมากกว่าการควบคุมด้วยมือ
นอกจากนี้ การติดตั้ง Magnetic Contactor ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งได้อีกด้วย เพราะการควบคุมด้วย
แมกเนติกคอนแทคเตอร์ สายไฟของวงจรสามารถเดินทางไปยังโหลดได้โดยตรง ซึ่งโหลดจะใช้สายไฟขนาดที่เล็กกว่า
ช่วยให้ประหยัดค่าติดตั้งในการเดินสายได้มากกว่าการควบคุมด้วยมือ
การทำงานของแมกเนติกคอนแทคเตอร์
สำหรับการทำงานของ Magnetic Contactor นั้น ทำงานโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยในการเปิด-ปิดหน้าสัมผัสนั่นเอง
โดยเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้ามาสู่วงจร โดยเริ่มจากขดลวดที่เป็นสนามแม่เหล็ก จะทำให้มีแรงแม่เหล็กเกิดขึ้น
แรงนั้นจะเอาชนะแรงสปริงทำให้สปริงไปดึงแกน Stationary Core ให้เคลื่อนที่ลงมาที่ตำแหน่งเปิดหรือ On จากนั้นคอนแทค
เปิดก็จะต่อเข้ากับวงจรที่เป็นจุดสัมผัส และหากไม่มีไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดแล้ว สนามแม่เหล็กก็จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
และวงจรก็จะหมุนเวียนเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ
จากลักษณะการทำงานเช่นนี้ ทำให้ Magnetic Contactor นิยมนำมาใช้งานกับระบบวงจรของมอเตอร์หรือวงจรการทำงานต่างๆ
ภายในโรงงาน มากไปกว่านั้น Magnetic Contactor ยังมีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับโรงงานในอุตสาหกรรมการผลิต
ซึ่งเราจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป
ประโยชน์และการป้องกันอุบัติเหตุ
เนื่องจากแมกเนติกคอนแทคเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้าในระบบ ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความปลอดภัย และการป้องกันอุบัติเหตุ Magnetic Contactor เป็นอุปกรณ์ที่สามารถควบคุมจาก
ระยะไกลได้ ทำให้ผู้ควบคุมไม่ต้องเข้าใกล้วงจรและปลอดภัยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการตัดต่อวงจรนั้น
มีกระแสไฟฟ้าค่อนข้างสูง
อุปกรณ์เสริมของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ (Contactor Accessories)
สำหรับแมกเนติกคอนแทคเตอร์ หรือแมกเนติกสวิตช์นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ คือ ขดลวดสนามแม่เหล็ก (Coil),
สปริงผลัก (Moving Contact Spring), แกนเหล็ก (Moving Core) ที่เคลื่อนได้ และหน้าสัมผัสตัดต่อวงจร (Contact)
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนิยมต่ออุปกรณ์เสริมที่ Magnetic Contactor เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น
โดยอุปกรณ์ที่นิยมนำมาติดตั้งเพิ่มนั่นก็คือ คอนแทคเสริม (Auxiliary contacts) และ Mechanical interlock นั่นเอง
คอนแทคเสริม (Auxiliary Contacts)
คอนแทคเสริมเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้กับวงจรควบคุม ซึ่งหน้าสัมผัสจะมี 2 แบบด้วยกัน นั่นคือ ปกติเปิด (Normally Open : N.O.)
และ ปกติปิด (Normally Close : N.C.) โดยปกติแล้วจะมาพร้อมแมกเนติกอยู่แล้ว แต่ถ้าหากต้องการต่อวงจรเพิ่มก็สามารถ
นำมาติดเพิ่มได้เช่นกัน
Mechanical interlock
ส่วน Mechanical Interlockนั้นก็นำเข้ามาช่วยเรื่องการป้องกันไม่ให้แมกเนติก 2 ตัวทำงานพร้อมกัน โดยส่วนใหญ่จะใช้สำหรับสตาร์ตมอเตอร์แบบสตาร์เดลต้า (Y-D)
และแบบกลับทางหมุน (FW) ซึ่งมีประโยชน์ช่วยให้วงจรทำงานได้อย่างราบรื่น ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความปิดพลาดและไม่ให้
มีความสูญเสียเกิดขึ้น
แม็คชีนนิเคิล อินเตอร์ล็อค แบบ toggle สามารถใช้งานกับเบรกเกอร์ NSX 4 โพล
ได้หรือไม่
หลายท่านอาจมีคำถามเกี่ยวกับการใช้งานของ แม็คชีนนิเคิล อินเตอร์ล็อคแบบ Toggle ว่าสามารถใช้งานร่วมกับเบรกเกอร์ NSX 4 โพลได้หรือไม่ คำตอบก็คือสามารถใช้งานร่วมกันได้
โดยสามารถดูวิธีการติดตั้งที่สามารถทำได้ตามรูปด้านล่างนี้
จะเห็นได้ว่า TeSys D Mechanical Interlock จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมการผลิต หากคุณกำลังมองหา
แม็คชีนนิเคิล อินเตอร์ล็อคคุณภาพดี เลือกใช้ Mechanical Interlockจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพราะเราเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน และเป็นชั้นนำระดับโลก
คุณจึงไม่ต้องกังวลถึงเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพในการใช้งานของสินค้าเรา ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดตามเรื่องราวดีๆ จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ที่
เว็บไซต์: www.se.com
Facebook: Schneider Electric
Instagram: schneiderelectric_th
LinkedIn: Schneider Electric
Lazada: Schneider Electric
shopee: Schneider Electric official
LINE Official: ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น